ศิลปะการเลือกซื้อรถเหล็กจากภาพยนตร์และการ์ตูน
มีหลายท่านที่หลงใหลในการสะสมรถเหล็กจากภาพยนตร์และการ์ตูน บางท่านมีเยอะแล้วก็อาจผ่านบทความนี้ไปได้เลย แต่ท่านที่เพิ่งเริ่มต้นอ่านต่อไปก็น่าจะมีประโยชน์นะครับ
ข้อแรกเราน่าจะมาทำความรู้จักกับบริษัทที่มีความชำนาญหรือชอบที่จะผลิตรถเหล็กที่มาจากภาพยนตร์หรือการ์ตูนทั้งที่เป็นหนังสือและภาพยนตร์ หรือ Super Hero ต่างๆ
บริษัทแรกคือ Corgi ผู้ผลิตรถเหล็กจากอังกฤษ น่าจะเป็นยี่ห้อแรกๆ ผลิตรถเหล็กมาเป็นระยะเวลายาวนาน คันเด่นๆ ในอดีตที่เรารู้จักกันดีได้แก่ รถเหล็กจากภาพยนตร์ชุด James Bond (1965), Batman (1966), Chitty Chitty Bang Bang (1968), Pop Eye Paddle Wagon (1969), Yellow Submarine (ภาพยนตร์การ์ตูนของวงดนตรีชื่อดัง The Beatles,1969), Basil Brush Car (1971), หรือจากภาพยนตร์การ์ตูนชุด Magic Roundabout (1973) นอกจากนั้นยังมีอีกหลายคันจากภาพยนตร์หลายเรื่องที่ Corgi ผลิตขึ้นมาในช่วงระยะเวลากว่า 50 ปีที่ผ่านมา ในปัจจุบันก็ยังผลิตอยู่ แม้แต่การผลิต Reproduct รุ่นเก่าๆ

James Bond (1965) Pop Eye Paddle Waggon (1969)
Magic Roundabout (1973)
บริษัทต่อมาคือ Matchbox ผู้ผลิตรถเหล็กอีกบริษัทที่ทำรถเหล็กจากภาพยนตร์และการ์ตูน แต่ไม่ค่อยมากเท่า Corgi ที่เห็นในอดีตก็จะเป็นรถเหล็กจากการ์ตูนจากค่าย Walt Disney, การ์ตูน Flintstone ซึ่งอยู่ในช่วงปี 1980 ปัจจุบันไม่ค่อยเห็นบ่อยนัก

Donald Duck (1979) Road Runner (1972)
Dinky ผู้ผลิตรถเหล็กเก่าแก่จากอังกฤษอีกรายที่ผลิตรถเหล็กจากภาพยนตร์และการ์ตูน เช่น ภาพยนตร์ชุด Thunder Bird (1967) นิทาน Cinderrella Coach (1976) ภาพยนตร์เรื่อง The Pink Panther (1972), TV Series The Secret Service

Cinderrella' Coach (1976) The Secret Service
ERTL ผู้ผลิตรถเหล็กจากสหรัฐอเมริกา ก็ผลิตรถเหล็กจำพวกนี้ออกมามากเหมือนกันครับ แต่ไม่ค่อยดังในบ้านเรา เช่น การ์ตูนชุด Thomas The Tank, การ์ตูนชุด Dick Tracy, ภาพยนตร์ TV ชุด Duke of Hazzard ปัจจุบันก็ยังผลิตอยู่ครับ

Duffy Duck (1988) Thomas the Tank (1985) Noddy (1985)
Johnny Lightning เป็นผู้ผลิตรถเหล็กยุคใหม่ที่หันมาเอาจริงเอาจังกับการผลิตรถเหล็กจากภาพยนตร์และการ์ตูน และส่วนมากมักจะผลิตรถเหล็กคันเล็กๆ อัตราส่วนประมาณ 1:64 เท่านั้น เป็นงานที่สวยน่ารักและประฒีตทีเดียว และมักใช้ชิ้นส่วนที่เป็นโลหะเกือบทั้งคัน ยกเว้นส่วนประกอบเล็กๆ งานรถเหล็กของ Johnny Lightning ก็มีตั้งแต่ภาพยนตร์ดังๆ หลายเรื่องครับ เช่น Batman ภาคต่างๆ, James Bond 007 รุ่นต่างๆ, Italian Job, Ghostbusters (2003), Fast and Furious การ์ตูนชุด Dr.Seuss,การ์ตูนชุด The Simpsons และอีกหลายเรื่อง งานเก่าๆ ก็มีนะครับ เช่น ภาพยนตร์ชุดทางทีวี เรื่อง Lost in Space (1998)

Dr.Seuss Ghostbusters (2003) Green Hornet
Mattel ผู้ผลิตรถเหล็กรายใหญ่ที่เรารู้จักกันดีในชื่อว่า Hot Wheels ก็ผลิตรถเหล็กจากภาพยนตร์และการ์ตูนเหมือนกันครับ เช่นการ์ตูน Spider Man (1979), Thor (1979), Iron Man (1981), Flintstones, Spawn, The Simpsons, ภาพยนตร์ Harry Potter (2000) และล่าสุดคือภาพยนตร์การ์ตูนจากวอลซ์ ดิสนีย์ ที่ฉายในบ้านเราคือ The Car (2006)

Spider Man (1979) Harry Potter (2000) The Cars (2006)
ส่วนผู้ผลิตรถเหล็กในเอเชียของเราก็มีผู้ผลิตรายใหญ่ที่ผลิตงานรถเหล็กจำพวกนี้ก็คือ Tomica, Bandai และแม้แต่ Maisto ซึ่งไม่ค่อยผลิตรถจำพวกนี้ก็ยังผลิตชุด Super Hero ออกมาเช่น Storm (2003), Wolverine (2003), Spiderman (2003), Hulk (2003)

Thomas the Tank (Bandai) Thunderbird (Bandai)

The Storm (Maisto) The Hulk (Maisto) Wolvarine (Maisto)
นอกจากต้องดูผู้ผลิตที่น่าจะเป็นผู้ผลิตรายใหญ่และมีชื่อเสียงพอสมควรแล้วเราน่าจะดูว่า รถเหล็กที่ผลิตขึ้นมานั้นมีลิขสิทธิ์หรือสิทธิบัตรถูกต้องหรือไม่ เช่นการระบุใต้ท้องรถเหล็กของ Maisto ว่า Spiderman TM & © 2003 Marvel หรือรถเหล็กหุ่นมหาสนุก The Muppet Show ของ Corgi ระบุใต้ท้องว่า © Hanson Associates Inc.1979


ถ้าหากว่าเป็นรถเหล็กที่มีลิขสิทธิ์ถูกต้องจากผู้ผลิตภาพยนตร์หรือการ์ตูนนั้นๆ ก็จะทำให้รถเหล็กของเรามีคุณค่าขึ้นมากในอนาคตมากกว่าที่จะให้ความสำคัญว่าMade in China หรือ England หรือ USA เสียอีก
นอกจากจะดูผู้ผลิต ดูเรื่องลิขสิทธิ์จากผู้ผลิตภาพยนตร์หรือการ์ตูนแล้ว สิ่งที่ควรดูอีกก็คือ การออกแบบ ซึ่งนอกจากดูความสวยงาม ความละเอียด การพิถีพิถันในการออกแบบแล้ว สิ่งที่เราควรพิจารณาอีก 3 ประการคือ
ประการที่ 1 รถเหล็กคันนั้นเหมือนกับหรือประกอบอยู่ในภาพยนตร์จริงๆ เรื่องนั้นหรือเปล่า เช่น รถจากการ์ตูน Toy Story

Toy Story
ประการที่ 2 เป็นรถเหล็กที่ได้ออกแบบมาเพื่อให้เข้ากับเรื่องราวหรือบุคลิกของตัวการ์ตูนโดยอาจไม่มีรถที่ใช้ในภาพยนตร์หรือการ์ตูนเรื่องนั้นๆ ก็ได้ เช่น รถเหล็กจาก
The Muppet Shows
The Muppet Shows
ประการที่ 3 เป็นการเอารถเหล็กที่ผลิตอยู่แล้ว มาพิมพ์ชื่อหรือรูปการ์ตูนหรือตัวเอกในเรื่องนั้นๆ ลงไปอย่างง่ายๆ เช่นรถเหล็กจากภาพยนตร์การ์ตูน Chicken Runซึ่งคุณค่าของงานนั้นๆในอนาคตก็คงจะแตกต่างกันไป

Chicken Run
หากเราได้พิจารณาสิ่งต่างๆ เหล่านี้ ก็จะทำให้รถเหล็กที่เกี่ยวกับภาพยนตร์และการ์ตูนที่เราสะสมไว้มีคุณค่ามากยิ่งขึ้นในอนาคตครับ
ยุคนธร รัตรสาร
www.toy2hand.com |